เมื่อสถานะทางการเงินมีปัญหา หลายคนคงมองหาตัวช่วยเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้ด้วยดี และมีวิธีหมุนเงินหรือหาเงินสดสำรองแตกต่างกัน ซึ่งการขอสินเชื่อนั้นถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินได้ โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อรถยนต์ที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยรายละเอียดของสินเชื่อทั้ง 2 ประเภทนั้นมีความแตกต่างกันทั้งด้านเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการใช้จ่าย และเพื่อให้ทุกคนได้ตัดสินใจก่อนยื่นเรื่องพิจารณากับทางธนาคารหรือสถาบันการเงิน เรามาทำความเข้าใจรายละเอียดต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้ทุกคนได้เตรียมตัวและพิจารณาเลือกขอสินเชื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของตัวเองมากที่สุด

 

ความเหมือนและความแตกต่าง ของสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อรถยนต์

สินเชื่อส่วนบุคคลเป็นการยื่นขอพิจารณาที่ไม่จำเป็นต้องระบุวัตถุประสงค์การใช้เงิน และไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกันก็ได้ โดยสามารถนำเงินไปใช้เพื่อการศึกษา เพื่อที่อยู่อาศัย อุปโภค บริโภค หรือสภาพคล่องอื่น ๆ ได้ตามต้องการ

ส่วนสินเชื่อรถยนต์มักจะเป็นการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหรือทำสัญญาเช่ารถยนต์ใหม่หรือรถยนต์มือสอง หรือใช้รถยนต์เป็นหลักประกันนั่นเอง โดยทางธนาคารจะอนุมัติเพื่อให้เราสามารถเป็นเจ้าของรถยนต์ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินสดเองทั้งหมด

แต่สิ่งที่เหมือนกันของทั้ง 2 สินเชื่อก็คือ จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาเพื่อตรวจสอบความสามารถในการชำระหนี้และความเสี่ยงทางการเงินของผู้กู้ โดยทางธนาคารหรือสถาบันการเงินนั้น ๆ จะเป็นผู้พิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ รายได้ประจำ ประวัติการเงิน สถานภาพการงาน เป็นต้น เพื่อประเมินระยะเวลาการผ่อนชำระและอัตราดอกเบี้ย ที่มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล

 

การผ่อนชำระและอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อทั้ง 2 ประเภท

สินเชื่อส่วนบุคคลจะมีความยืดหยุ่นทั้งในระยะการผ่อนชำระและการใช้เงินมากกว่าสินเชื่อรถยนต์ โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินจะประเมินตามความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ แต่จะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า โดยอยู่ในช่วงประมาณ 5% - 25% ต่อปี เนื่องจากไม่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน มักจะมีระยะเวลาผ่อนชำระยาวกว่า ตั้งแต่ 1-10 ปี และต้องชำระเงินคืนทุกงวด รวมทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย

ส่วนสำหรับสินเชื่อรถยนต์นั้น โดยส่วนมากจะมีระยะเวลาการผ่อนชำระที่สั้นกว่า และมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าสินเชื่อส่วนบุคคล โดยอยู่ในช่วงประมาณ 2% - 10% ต่อปี เนื่องจากมีรถยนต์เป็นหลักประกัน ระยะเวลาผ่อนชำระจะอยู่ที่ 1-7 ปี และสามารถเลือกวิธีการผ่อนชำระได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและการต่อรองกับทางธนาคารหรือสถาบันการเงินนั้น ๆ เช่น ผ่อนชำระเท่ากันทุกงวด ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ผ่อนชำระเงินต้นก่อน แล้วค่อยผ่อนชำระดอกเบี้ย หรือเลือกผ่อนชำระดอกเบี้ยก่อน แล้วค่อยผ่อนชำระเงินต้น

 

หากมีรถยนต์อยู่แล้ว แต่ต้องการใช้เงินก้อน ควรทำอย่างไร?

1. ยื่นพิจารณาขอสินเชื่อส่วนบุคคลหรือสินเชื่อรถยนต์ที่มีรถเป็นหลักประกันกับทางธนาคารหรือสถาบันการเงิน โดยดูที่อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาผ่อนชำระ เงื่อนไขการดำเนินการ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องประกอบการตัดสินใจ

2. นำรถยนต์ไปจำนำ โดยลองหาข้อมูล เปรียบเทียบราคา หรือดูรีวิวจากผู้ใช้บริการจริงประกอบการตัดสินใจ เพราะต้องมีการประเมินราคาตามรุ่นรถและสภาพรถอีกครั้ง โดยราคาสูง-ต่ำมักจะขึ้นอยู่กับธนาคารและสถาบันการเงินแต่ละที่

3. ขายรถยนต์ สำรวจตลาดเพื่อตั้งราคาที่เหมาะสมและขายให้กับผู้ที่สนใจหรือตัวแทนกลาง อย่างเตนท์รถมือสองที่น่าเชื่อถือ แต่วิธีนี้จะทำให้คุณไม่สามารถเอารถคันเดิมกลับคืนมาได้ หากมีผู้ติดต่อซื้อไปแล้ว แต่หากยังไม่ได้ขายออกไป แต่ราคาที่ซื้อกลับคืนมาก็มีแนวโน้มที่จะสูงกว่าราคาขายเช่นกัน

จะเห็นว่าสินเชื่อทั้ง 2 ประเภทนั้น นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ต้องคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนยื่นเรื่องแล้ว ยังมีระยะเวลาการดำเนินการที่ค่อนข้างนาน ซึ่งอาจจะทำให้เราไม่สามารถมีเงินสดสำรองมาใช้ได้ทันเวลา ดังนั้น ให้บัตรกดเงินสดยูเมะพลัสเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของทุกคน เพราะสามารถกดเงินสดได้ตลอด 24 ชั่งโมง ด้วยอัตราดอกเบี้ย 0% นานถึง 30 วัน* และหากไม่ได้ใช้ ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น เรียกว่าถือไว้ให้อุ่นใจ ไร้กังวลแน่นอน สามารถสมัครผ่านทางออนไลน์ได้เลย ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน พนักงานประจำอายุงานแค่ 1 เดือนก็สมัครได้ คลิก >> https://www.umayplus.com/cashcard/applyform

 

*เพียงมียอดเบิกถอนเงินสดภายใน 30 วันหลังได้รับการอนุมัติ (เฉพาะยอดเบิกถอนภายในวันแรกเท่านั้น), หลังจบโปรฯ อัตราดอกเบี้ยปรับเป็นปกติ 19.8% หรือไม่เกิน 25% ต่อปี, กรณีผิดนัดชำระจะถูกปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยปกติ, ดูเงื่อนไขได้ที่ www.umayplus.com, กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว