การเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อนในช่วงวันหยุดยาว ถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยเติมเต็มความสุข และชาร์จพลังชีวิตให้กับเราได้ แต่เมื่อช่วงเวลานั้นสิ้นสุดลง กลับถูกแทนที่ด้วยความรู้สึกเบื่อๆ เซ็งๆ เศร้าๆ ไม่อยากไปทำงาน ถ้าคุณมีอาการแบบนี้ ถือเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็น "Post Vacation Blues" หรือ "อาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว"
บางคนอาจจะไม่เคยรู้จักอาการนี้มาก่อน แต่มันสามารถเกิดขึ้นได้จริงตามหลักจิตวิทยา เพราะเมื่อไปเที่ยวระดับฮอร์โมนความสุขจะสูงขึ้นกว่าปกติ แต่พอกลับสู่โลกความเป็นจริง กลับมาใช้ชีวิตปกติ ระดับฮอร์โมนความสุขก็จะลดลงมาในระดับปกติ จึงส่งผลให้เรามีอาการซึมเศร้าในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไป อาการซึมเศร้าจะหายไปเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราสามารถรับมือ และจัดการความรู้สึกของตัวเองได้ แต่ต้องทำอย่างถูกวิธีด้วยเช่นกัน
เช็กหน่อย! มีอาการซึมเศร้าหลังไปเที่ยวหรือเปล่า?
· เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากทำงาน
หลังจากกลับมาจากการเที่ยวพักผ่อน เกิดความรู้สึกว่าไม่อยากทุ่มเทไปกับการทำงานเหมือนแต่ก่อน และรู้สึกว่าชีวิตประจำวันมันช่างน่าเบื่อ ไม่สนุกและเพลิดเพลินเหมือนกับช่วงเวลาที่ได้พักผ่อนเลย
· เครียดและกังวลทุกอย่างจนเกินเหตุ
เกิดภาวะเครียดและวิตกกังวลเกี่ยวกับทุกเรื่องในชีวิต แม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถจัดการหรือตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างมีสติเหมือนแต่ก่อน
· มีปัญหาด้านการนอน พักผ่อนเท่าไหร่ก็ไม่พอ
จากภาวะความเครียดและความกังวลในข้อก่อนหน้า ส่งผลต่อการนอนหลับตามมา คุณจะรู้สึกเหนื่อยง่าย แม้จะได้พักผ่อนแต่ก็ไม่รู้สึกสดชื่นเท่าที่ควร บางครั้งอาจหนักถึงขั้นนอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก หลับไม่สนิท จนกลายเป็นนอนไม่พอในที่สุด
· หงุดหงิดง่ายและไม่ค่อยมีสมาธิ
คุณจะจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ ได้ยากกว่าที่เคย ขาดสมาธิในการทำกิจกรรมประจำวัน หลง ๆ ลืม ๆ ไม่ค่อยโฟกัส ทั้งยังหงุดหงิดหรือรู้สึกขุ่นเคืองได้ง่ายกว่าปกติอีกด้วย
· อารมณ์แปรปรวน
การพยายามปรับเข้าสู่การใช้ชีวิตแบบปกติ อาจส่งผลต่ออารมณ์ ทำให้อารมณ์แปรปรวน นอกจากจะหงุดหงิดง่ายแล้ว ยังรู้สึกซึมเศร้าหรือเศร้าโศกเศร้ามากกว่าปกติอยู่บ่อย ๆ จนนำไปสู่การตั้งคำถามว่าทำไมชีวิตถึงช่างน่าเบื่อและจืดชืดได้ขนาดนี้
4 วิธีจัดการความรู้สึก เมื่อรู้ตัวว่ากำลังจมดิ่งกับอาการซึมเศร้าหลังไปเที่ยว
1. ยอมรับความรู้สึกของตัวเอง
การยอมรับว่าตัวเองกำลังรู้สึกเศร้า เบื่อ และหงุดหงิด ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการจัดการกับอาการซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่าพยายามกดทับหรือปฏิเสธความรู้สึก หรือรีบร้อนที่จะแก้ไขความรู้สึกนี้ให้หายไปทันที ให้ค่อยๆ ปรับตัวไปเรื่อย ๆ เพราะการกลับมาใช้ชีวิตปกติก็ต้องใช้เวลา ถ้าคุณยอมรับและเข้าใจความรู้สึกของตัวเองได้ ก็จะช่วยให้คุณสามารถก้าวข้ามความรู้สึกเหล่านี้และกลับมามีความสุขได้เร็วขึ้น
2. หันกลับมาโฟกัสตัวและใจ จัดการอารมณ์ให้สมดุล
ลองหันมาจัดสรรเวลาของตัวเองและปรับสมดุลระหว่างการทำงานและการทำกิจกรรมอื่น ๆ อย่าจมอยู่กับการทำงานอย่างเดียว ให้จัดเวลาไปทำอย่างอื่นบ้าง เช่น ออกกำลังกาย หรือทำงานอดิเรกที่ชอบ เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในภาวะเครียดและเบื่อจนเกินไป แค่นี้ก็จะช่วยลดความเครียดและปรับสภาพจิตใจให้ดีขึ้นได้แล้ว
3. แชร์บันทึกการท่องเที่ยว เยียวยาความคิดถึง
การแบ่งปันเรื่องราวของท่องเที่ยวที่คุณประทับใจ ถือเป็นการบำบัดอย่างหนึ่ง ที่สามารถสร้างความรู้สึกทางบวก ทำให้คุณรู้สึกสบายใจขึ้น และช่วยเยียวยาความคิดถึงของการไปเที่ยวได้ เพราะฉะนั้นเล่ามันออกมาให้หมด อย่าเก็บไว้ ใครมีรูปแชร์รูป ใครมีคลิปแชร์คลิป สร้างเป็นอัลบั้มเก็บความทรงจำดี ๆ แค่นี้ก็จะช่วยพาคุณก้าวผ่านความรู้สึกนี้ไปได้แล้ว
4. ทริปหน้าต้องเผื่อเวลาให้ตัวเองได้หยุดพัก ก่อนเริ่มทำงานใหม่
หลายคนชอบอยู่เที่ยวจนถึงวันหยุดวันสุดท้าย และกลับมาทำงานในวันถัดไปทันที โดยไม่มีช่วงเวลาเว้นว่างให้ตัวเองได้หยุดพักก่อนเริ่มทำงานใหม่เลย ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้จะส่งผลให้คุณตกอยู่ในอาการซึมเศร้าหลังไปเที่ยวได้ง่าย ลองเปลี่ยนแผนวันเดินทางกลับให้เร็วขึ้นสัก 2-3 วัน เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวปรับใจสักนิด เวลากลับไปทำงานวันแรกจะได้ไม่รู้สึกเบื่อหรือเศร้า อย่างที่เคยเป็น
ถ้าอาการซึม เซ็ง เศร้ายังไม่หายไป ก็จัดทริปเที่ยวใหม่เติมแรงใจไปเลย!
ถ้าจัดการตัวเองมาครบทั้ง 4 วิธี แต่ก็ยังไม่ดีขึ้นสักที ลองวางแผนจัดทริปไปเที่ยวครั้งถัดไปดู เพราะวิธีนี้จะช่วยสร้างความหวัง สร้างแรงบันดาลใจ เพื่อเบี่ยงเบนอาการซึมเศร้าได้ โดยให้เริ่มต้นจากการวางแผนว่าครั้งหน้าจะไปเที่ยวที่ไหนดี ไปกี่วัน ไปพักที่ไหน หรือจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง เพื่อจะได้เตรียมตัวเก็บเงินให้พร้อมสำหรับการเดินทางครั้งต่อไป จะได้มีแรงจูงใจว่ามีสิ่งน่าตื่นเต้นกำลังรออยู่ เราจะได้กระตือรือร้นกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อจะได้มีเงินและเวลาไปท่องเที่ยวในครั้งต่อไปตามเป้าหมายที่วางไว้นั่นเอง
ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจวางแพลนทริปเที่ยวครั้งหน้าไปที่ไหน นอกจากการวางแผนการเดินทางแล้ว ก็อย่าลืมวางแผนเรื่องการเงินให้พร้อม ทั้งการวางแผนค่าใช้จ่าย รวมถึงการมีเงินสดสำรองก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน เพื่อเพิ่มความอุ่นใจในการท่องเที่ยวที่มากขึ้น
วางแผนเที่ยวแล้ว ก็อย่าลืมมีแผนการเงินที่ดี
“บัตรกดเงินสดยูเมะพลัส” คือหนึ่งในตัวช่วยทางการเงินที่ดี ที่จะทำให้คุณได้เดินทางท่องเที่ยวอย่างอุ่นใจคลายกังวล เพราะหากเกิดเหตุไม่คาดฝันก็สามารถเบิกถอนเงินสดสำรองแบบออนไลน์ ผ่าน Umay+ Application ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยอัตราดอกเบี้ย 0% นานถึง 30 วัน* ที่สำคัญสมัครไว้แล้วไม่ได้ใช้ก็ไม่เกิดค่าใช้จ่ายใด ๆ อีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถรับสิทธิประโยชน์มากมาย ที่จะช่วยให้ทริปในครั้งหน้าของคุณ สนุกและคุ้มค่ามากขึ้นด้วย
สนใจเป็นเจ้าของบัตรกดเงินสดยูเมะพลัส สมัครง่ายผ่านทางออนไลน์ https://www.umayplus.com/cashcard/applyform ตลอด 24 ชั่วโมง
*เพียงมียอดเบิกถอนเงินสดภายใน 30 วันหลังจากได้รับการอนุมัติ (เฉพาะยอดเบิกถอนภายในวันแรก สำหรับลูกค้าใหม่) หลังจบรายการส่งเสริมการขายอัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับเป็นอัตราดอกเบี้ย 19.8% - 25% ต่อปี, ดูเงื่อนไขได้ที่เว็บไซต์ยูเมะพลัส, กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว