จากวัยเรียนสู่วัยทำงาน สิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดเรื่องหนึ่งคือการทำงานประจำจนเริ่มมีรายได้เข้ามาในบัญชีของเรา และอีกสิ่งที่หลายคนกังวลคือเรื่องของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั่นเอง โดยเฉพาะเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ทั้งเงินเดือนประจำตำแหน่ง โบนัส ค่าคอมมิชชั่น และอื่น ๆ ที่ได้จากการทำงาน บางคนดีใจหารายได้ได้เยอะ เก็บเงินเพลินจนลืมไปเลยว่าหน้าที่อีกอย่างหนึ่งของเรา คือ “การเสียภาษี” นั่นเอง พอได้ยินคำนี้ชาว First Jobber หลายคนอาจจกังวลใจด้วยความไม่คุ้นเคย แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เราสามารถเข้าใจและจัดการเรื่องนี้ได้ง่าย ๆ ตามนี้เลย!
ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษีและต้องมีรายได้เท่าไหร่
สำหรับมนุษย์เงินเดือนการเสียภาษีจะอยู่ในประเภท ภ.ง.ด 90/91 มีด้วยกัน 2 แบบ คือ
· ภ.ง.ด. 91 คือ ผู้ที่มีรายได้จากเงินเดือนอย่างเดียว หรือมนุษย์เงินเดือน นั่นเอง
· ภ.ง.ด. 90 คือ ผู้ที่มีรายได้ได้นอกเหนือจากเงินเดือน เช่น อาชีพฟรีแลนซ์ ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล หรืออื่น ๆ
โดยผู้ที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือบุคคลที่เริ่มเข้าสู่ระบบแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือฟรีแลนซ์ โดยที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี หรือมีรายได้ประเภทอื่นนอกเหนือจากเงินเดือน เกิน 60,000 บาทต่อปี
สูตรคำนวณการเสียภาษี
ขั้นตอนที่ 1 คำนวณเงินได้สุทธิ
“เงินได้สุทธิ = เงินได้ทั้งปี − ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน”
เงินได้สุทธิ = (เงินได้ทั้งปี+โบนัส) – (ค่าใช้จ่าย 50% ของรายได้ (แต่ไม่เกิน 100,000 บาท)) – (ค่าลดหย่อนส่วนตัว+ค่าประกันสังคมตลอดทั้งปี)
เงินได้สุทธิ = (300,000+50,000) – (100,000) – (60,000+9,000) = 181,000 บาท
ขั้นตอนที่ 2 คำนวณภาษีที่ต้องชำระ
“ภาษีที่ต้องชำระ = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี”
คำนวณภาษีแบบขั้นบันได
เปรียบเทียบจากอัตราภาษี ตามตารางด้านล่างพบว่าเงินได้สุทธิ 181,000 บาท จะมีอัตราภาษี 5%
ภาษีที่ต้องชำระ = [(เงินได้สุทธิของตนเอง - เงินได้สุทธิที่มากที่สุดของลำดับขั้นก่อนหน้า) X อัตราภาษี (%)] + ภาษีสะสมสูงสุดของลำดับขั้นก่อนหน้า
ภาษีที่ต้องชำระ = [(181,000 – 150,000) X 5%] + 0 = 31,000 X 5% = 1,550 บาท
แสดงว่าจะต้องเสียภาษี 1,550 บาท หากไม่ได้มีวางแผนในการลดหย่อนภาษีส่วนอื่น ๆ เมื่อมองเป็นตัวเลขจะทำให้เห็นชัดเจนขึ้นว่าการวางแผนลดหย่อนภาษีนั้น มีความสำคัญเพียงใด เพราะถ้าหากเรานำเงินจำนวน 31,000 บาท ไปลงทุนในกองทุนรวมลดหย่อนภาษี SSF ก็จะทำให้เราสามารถเก็บเงินเพื่อเป็นการวางแผนชีวิต เพื่อการเกษียณหรือความสำเร็จทางการเงินที่ดีได้ โดยไม่จำเป็นต้องเสียภาษี
สรุปรายการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
การวางแผนลดหย่อนภาษีนั้นจะช่วยให้สามารถเก็บเงินในบัญชีได้มากขึ้น เพราะเราจะได้รับภาษีเงินคืน โดยสามารถทำได้ทั้งการซื้อกองทุนรวมลดหย่อนภาษี RMF และ SSF การซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพ การบริจาค ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ทั้งสิ้น โดยสิ่งที่มนุษย์เงินเดือน หรือ First Jobber สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้นั้น มีรายละเอียดดังนี้
ลดหย่อนภาษีกลุ่มส่วนตัวและครอบครัว
· ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว 60,000 บาท สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เลย
· ค่าลดหย่อนภาษีเลี้ยงดูพ่อแม่ 30,000 บาทต่อคน โดยพ่อแม่ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งจะไม่สามารถลดหย่อนซ้ำได้ในกรณีที่มีพี่น้อง
· ลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ 60,000 บาท และผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
ลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และกองทุน
· ประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
· ประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท
· ประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 25,000 บาท (เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท)
· ประกันสุขภาพของพ่อและแม่ ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี
กลุ่มด้านล่างจะสามารถนำมาลดหย่อนภาษี รวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท
· กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
· กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
· กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
· ประกันแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
นอกจากนี้ยังมีกองทุนอื่น ๆ ที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้อีก แต่จะไม่อยู่ในกลุ่มมนุษย์เงินเดือน
ลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
· เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้โดยจะนับหลังจากหักค่าลดหย่อนภาษีแล้ว
· เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้โดยจะนับหลังจากหักค่าลดหย่อนภาษีแล้ว
· เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
*อ้างอิงจาก กรมสรรพากร
ข้อดีของการได้รับเงินคืนจากการขอลดหย่อนภาษี
การวางแผนเรื่องภาษีอย่างรอบคอบนั้น จะทำให้เราได้รับเงินคืนจากการขอลดหย่อนภาษีได้อย่างคุ้มค่าซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเสริมสภาพคล่องของการเงินและช่วยเราเก็บเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็ยังช่วยลดภาระในการเสียภาษี และยังมีข้อดีอีกหลายอย่าง เช่น
· เพิ่มรายได้สุทธิต่อปี: การวางแผนลดหย่อนภาษีนั้น จะช่วยลดจำนวนเงินที่เราต้องเสียภาษีต่อปีไปได้ตามที่วางแผน ทำให้เราสามารถวางแผนเก็บเงินตามที่เราต้องการ
· เพิ่มโอกาสในการลงทุนกับสินทรัพย์ต่าง ๆ : อีกช่องทางที่ช่วยลดหย่อนภาษีนั่นคือการลงทุนในกองทุน SSF, RMF, การซื้อประกันชีวิต, ประกันสุขภาพต่าง ๆ หากเราได้วางแผนลงทุนหรือกระจายความเสี่ยงไปนั้น นอกจากจะช่วยลดหย่อนภาษีได้แล้วก็ยังเป็นการเก็บเงินอีกรูปแบบหนึ่งที่เหมาะสำหรับมนุษย์เงินเดือนอีกด้วย
· ลดภาระการเสียภาษีที่ไม่จำเป็น: การลดหย่อนภาษีจะช่วยลดภาระในการเสียภาษีให้กับเรา เพราะทางภาครัฐมีมาตราการช่วยให้เราลดหย่อนภาษีได้ตามสมควร เพื่อไม่ให้เราเสียภาษีมากจนเกินไป
· ส่งเสริมการบริจาคและทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม: การลดหย่อนภาษีสามารถเป็นแรงจูงใจให้เราอยากทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคม เพราะนอกจากจะนำไปลดหย่อนภาษีได้แล้ว ก็ยังช่วยขับเคลื่อนสังคมให้ดีขึ้นในอีกรูปแบบหนึ่งด้วย
แน่นอนว่าการวางแผนลดหย่อนภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อการเก็บเงินที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามแผนการเงินที่วางไว้ และไม่ว่าเราจะสนใจวิธีการลดหย่อนภาษีแบบใด จำเป็นที่ต้องคำนวณให้อยู่ในงบประมาณที่ชาวมนุษย์เงินเดือน หรือ First Jobber สามารถจ่ายไหวด้วย
และนอกจากจะรู้วิธีที่ทำให้เราวางแผนลดหย่อนภาษีได้อย่างดีแล้ว อย่าลืมตัวช่วยทางการเงิน อย่างบัตรกดเงินสดยูเมะพลัส ที่เป็นหนึ่งในการวางแผนการเงินที่ดีช่วยให้ระหว่างปีไม่มีติดขัด พร้อมดูแลให้ทุกการวางแผนเป็นไปได้แบบไม่มีสะดุด ด้วยสิทธิประโยชน์ที่บัตรกดเงินสดยูเมะพลัสมอบให้ เช่น
· กดเงินสดได้ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0% นาน 30 วัน*
· ผ่อนชำระสินค้า 0% ร้านค้าที่ร่วมรายการ
· ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี พกไว้ ไม่ใช้ไม่เสียดอกเบี้ย
สมัครบัตรกดเงินสดยูเมะพลัส ตัวช่วยที่ทำให้การวางแผนทางการเงินเป็นไปตามที่วางไว้ สำหรับใครที่สนใจสมัครบัตรกดเงินสดยูเมะพลัส สามารถสมัครได้ผ่านทางออนไลน์ที่ > https://www.umayplus.com/cashcard/applyform ตลอด 24 ชั่วโมง
*เพียงมียอดเบิกถอนเงินสดภายใน 30 วันหลังจากได้รับการอนุมัติ (เฉพาะยอดเบิกถอนภายในวันแรก สำหรับลูกค้าใหม่) หลังจบรายการส่งเสริมการขายอัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับเป็นอัตราดอกเบี้ย 19.8% - 25% ต่อปี, ดูเงื่อนไขได้ที่เว็บไซต์ยูเมะพลัส, กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว