ค่ารักษาพยาบาลในยุคนี้ เตรียมเท่าไหร่ถึงพอ

เมื่อเราพูดถึงเรื่องสุขภาพ ความเจ็บป่วยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และยังเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือค่ารักษาพยาบาลที่เราต้องจ่ายในการรักษาโรคนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้การทำความเข้าใจในกระบวนการรักษาและค่าใช้จ่ายจึงเป็นสิ่งสำคัญ

 

การเข้ารักษาตัวแบบผู้ป่วยนอก (OPD)

การเข้ารักษาตัวแบบผู้ป่วยนอก หรือ Out-Patient Department (OPD) คือ การที่ผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อทำการเข้ารักษา แต่สามารถกลับบ้านได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องนอนพักที่โรงพยาบาล

ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่เข้ารักษาแบบ OPD จะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยหรือปัญหาสุขภาพที่ไม่รุนแรง อาจเป็นอาการไม่สบายเพียงเล็กน้อย ต้องการการวินิจฉัย การรักษา หรือคำแนะนำจากแพทย์เพื่อให้อาการเจ็บป่วยดีขึ้น เช่น เป็นหวัด ปวดท้อง หกล้ม ระคายเคืองตา ผื่นคัน ฯลฯ

 

ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD)

หลังจากเข้ารับการรักษาเรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยจะต้องจ่ายค่าบริการตามนโยบายของสถานพยาบาลนั้น ๆ  ทั้งนี้ค่าใช้จ่าย OPD ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาลที่รับบริการ ความซับซ้อนของการรักษา ประเภทของการวินิจฉัย การจัดการโรค ฯลฯ ซึ่งโดยปกติแล้ว ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกรวมกับค่ายาจะเฉลี่ยอยู่ที่ 1,500 - 4,500 บาท

 

การเข้ารักษาตัวแบบผู้ป่วยใน (IPD)

การเข้ารักษาตัวแบบผู้ป่วยใน หรือ In-Patient Department (IPD) คือ ผู้ป่วยที่ต้องนอนแอดมิตในโรงพยาบาล เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง หรือรับการรักษาในโรงพยาบาลติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง หรือต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยใช้เวลานานขึ้นจากการรักษาตัวแบบผู้ป่วยนอก

โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแบบ IPD มักจะมีอาการที่ซับซ้อนกว่า OPD ไม่ใช่เพียงป่วยไม่สบายเล็กน้อยเท่านั้น แต่มีภาวะที่ต้องการการรักษาอย่างต่อเนื่อง หรือมีความรุนแรงของอาการที่ต้องเข้ารับการรักษาโดยทันที เช่น อุบัติเหตุที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดใหญ่

นอกจากนี้ผู้ป่วย IPD ต้องได้รับการควบคุมและดูแลอย่างใกล้ชิดจากบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลตลอดเวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาล มีการตรวจเช็กสุขภาพประจำวัน ให้ยาและดูแลรักษาตามขั้นตอนของแพทย์เจ้าของไข้

 

ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD)

ค่าใช้จ่ายสำหรับค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย IPD นั้นแตกต่างกันไปตามโรงพยาบาลที่เลือกรับการรักษา ระดับความรุนแรงของการเจ็บป่วย ความซับซ้อนของการรักษา ประเภทของห้องพัก ฯลฯ

การเข้ารับการรักษาตัวแบบ IPD ในประเทศไทย ค่าใช้จ่ายอาจเริ่มต้นที่ประมาณ 3,000 บาทขึ้นไปต่อคืนสำหรับห้องพักที่มีระดับมาตรฐาน แต่อาจเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากถึงหลักหมื่นต่อคืน สำหรับห้องพักที่มีความสะดวกสบายและสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติม

ทั้งนี้ราคาที่กล่าวไปเป็นเพียงการรักษาโรคเบื้องต้นเท่านั้น ไม่รวมถึงการตรวจเจอโรคที่รุนแรงที่ต้องได้รับการรักษาเฉพาะทาง หรือใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นไปจนถึงหลักหมื่นหรือแสนได้

 

สรุปแล้วต้องเตรียมค่ารักษาพยาบาลเท่าไหร่

การเตรียมค่ารักษาพยาบาลให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องวางแผนและไม่ควรละเลย ทั้งนี้การคาดเดาค่ารักษาพยาบาล หรือตีเป็นจำนวนเงินออกมาล่วงหน้านั้นอาจจะตอบได้ยาก ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งความรุนแรงของโรค โรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา ระยะเวลาในการรักษา เพราะบางคนอาจต้องการการรักษาอย่างต่อเนื่อง ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลายวัน หรือต้องกลับไปพบแพทย์หลายครั้งอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

ดังนั้นการทำประกันสุขภาพไว้ จะช่วยลดภาระค่ารักษาพยาบาลได้ แต่หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน แล้วประกันสุขภาพที่ทำไว้ไม่คุ้มครอง หรือไม่สามารถครอบคลุมค่ารักษาได้เพียงพอ และจำเป็นต้องใช้เงินในการชำระค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติม การมีบัตรกดเงินสดยูเมะพลัสนับเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดี เพราะช่วยให้คุณรับมือกับค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดได้ และช่วยรองรับทุกความเสี่ยงในสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันได้เป็นอย่างดี ทั้งค่ารักษาพยาบาลที่ไม่เพียงพอ ค่าผ่าตัดกรณีจำเป็น ฯลฯ เพื่อให้คุณจัดการเรื่องการเงินได้อย่างไม่มีสะดุด บัตรกดเงินสดยูเมะพลัสมาพร้อมอัตราดอกเบี้ยพิเศษกดเงินสดดอกเบี้ย 0% นาน 30 วัน* อีกด้วย เพื่อให้คุณอุ่นใจได้ทุกช่วงเวลาเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน สำหรับใครที่สนใจ
สมัครบัตรกดเงินสดยูเมะพลัส สามารถสมัครผ่านทางออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

*เพียงมียอดเบิกถอนเงินสดภายใน 30 วันหลังจากได้รับการอนุมัติ (เฉพาะยอดเบิกถอนภายในวันแรก สำหรับลูกค้าใหม่) หลังจบรายการส่งเสริมการขายอัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับเป็นอัตราดอกเบี้ย 19.8% - 25% ต่อปี, ดูเงื่อนไขได้ที่เว็บไซต์ยูเมะพลัส, กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว