
‘ดอกเบี้ย’ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเมื่อเลือกใช้บริการทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการใช้บัตรกดเงินสด บัตรเครดิต หรือสินเชื่ออื่น ๆ เพราะสิ่งนี้มีผลโดยตรงต่อภาระหนี้สินของผู้กู้ การทราบถึงอัตราดอกเบี้ยและการคิดดอกเบี้ยในแต่ละรูปแบบ จะช่วยให้เราสามารถเลือกใช้บริการทางการเงินได้อย่างเหมาะสม และช่วยให้เราเลือกบริการทางการเงินในรูปแบบที่คุ้มค่าที่สุด บทความนี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพที่ชัดเจนของดอกเบี้ยบัตรกดเงินสดเมื่อเปรียบเทียบกับช่องทางการเงินอื่น ๆ
กดเงินสดได้จากช่องทางไหนบ้าง?
จริง ๆ แล้วยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถกดเงินสดออกมาใช้จ่ายได้ในยามจำเป็น ในปัจจุบันมีบริการที่สะดวกและทันสมัยหลากหลายตัวเลือกให้ใช้ ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียที่ต่างกัน
1. บัตรกดเงินสด
บัตรกดเงินสดเป็นสินเชื่อประเภทหนึ่งที่ให้ผู้ถือบัตรสามารถเบิกถอนเงินสดได้ตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งข้อดีคือไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ผู้ใช้สามารถกดเงินสดผ่านตู้ ATM หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารได้ทันที ซึ่งดอกเบี้ยบัตรกดเงินสดและค่าธรรมเนียมการกดเงินสดจะต่ำกว่าการกดเงินสดจากบัตรเครดิต ดอกเบี้ยจะเริ่มคิดตั้งแต่วันที่เบิกถอนเงิน และผู้ใช้สามารถทยอยชำระคืนได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด
2. บัตรเครดิต
ผู้ถือบัตรเครดิตสามารถกดเงินสดออกมาจากเครดิตของตนได้ โดยมักมีค่าธรรมเนียมการกดเงินสด (Cash Advance Fee) และดอกเบี้ยสูงกว่าการใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้า ดอกเบี้ยจะเริ่มคิดตั้งแต่วันที่กดเงินสดออกมา
3. สินเชื่อเงินสด
สำหรับผู้ที่ต้องการจำนำทรัพย์สินหรือเงินสดด่วน สามารถขอสินเชื่อเงินสดจากสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการทางการเงินได้ โดยมักมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด แต่ต้องผ่านการประเมินเครดิตและเปิดเผยรายละเอียดเงื่อนไขการกู้ยืมเงินอย่างชัดเจน
4. สินเชื่อแอปพลิเคชัน E-Wallet
ในยุคดิจิทัลคงหนีไม่พ้นแอปพลิเคชัน E-Wallet ที่กำลังเติบโตและเป็นที่นิยม บางธนาคารหรือสถาบันการเงินมีบริการสินเชื่อที่สะดวกและรวดเร็ว ผู้ใช้สามารถกดเงินสดออกมาได้ผ่านแอปพลิเคชัน อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขในการกู้เงินก็มีความหลากหลาย
ตารางเปรียบเทียบการคิดดอกเบี้ย
ช่องทางการเงิน |
อัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ย (ต่อปี)* |
บัตรกดเงินสด |
ไม่เกิน 25% |
บัตรเครดิต |
16-20% + |
สินเชื่อเงินสด |
ค่าธรรมเนียม 3-5% + ภาษี 7% |
สินเชื่อแอปพลิเคชัน E-Wallet |
18-25% |
*ค่าธรรมเนียมและอัตราดอกเบี้ยที่แสดงเป็นตัวอย่างเท่านั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามนโยบายของแต่ละสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการทางการเงิน
หมายเหตุเพิ่มเติม:
· บัตรเครดิต – ผู้ให้บริการมักจะเริ่มคิดดอกเบี้ยทันทีที่ทำการกดเงินสดออก และมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมที่ต้องจ่าย โดยค่าธรรมเนียมจะเฉลี่ยอยู่ที่ 3-5% ของยอดเงินที่กด และผู้ให้บริการบางรายอาจคิดภาษีเพิ่มอีก 7%
· การขอสินเชื่อเงินสด – ต้องผ่านการประเมินเครดิตและมีเงื่อนไขการกู้ยืมที่ค่อนข้างหลากหลาย
· สินเชื่อแอปพลิเคชัน E-Wallet – มักมีความสะดวกสบายและดำเนินการได้รวดเร็ว แต่อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขการกู้ยืมอาจแตกต่างกันไปตามแอปพลิเคชันที่ใช้
การคำนวนดอกเบี้ยบัตรกดเงินสด และ กฎหมายเกี่ยวกับบัตรกดเงินสด
การคำนวนดอกเบี้ยบัตรกดเงินสด
บัตรกดเงินสดใช้การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) โดยธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ผู้ใช้จ่ายดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวมกันไม่เกิน 25% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยของแต่ละบัตรกดเงินสดขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการทางการเงินแต่ละแห่งที่กำหนด และอาจมีค่าธรรมเนียมการกดเงินสดหรือการใช้บัตรเพิ่มเติมด้วย
ซึ่งวิธีคิดดอกเบี้ยบัตรกดเงินสดนั้น จะคิดจากเงินต้นคงเหลือในแต่ละงวด โดยสามารถวางแผนเลือกวิธีการชำระได้ว่าจะจ่ายเต็มจำนวนหรือจ่ายขั้นต่ำ
· กรณีจ่ายเต็มจำนวน: การนับจำนวนวันในแต่ละรอบบัญชี จะนับตั้งแต่วันที่เบิกถอนเงินสด - ก่อนวันชำระเงิน 1 วัน
· กรณีจ่ายขั้นต่ำ: จะนับตั้งแต่วันที่เบิกถอนเงินสด - ก่อนวันสรุปยอดบัญชี 1 วัน
ในกรณีที่จ่ายเงินขั้นต่ำและมีการผ่อนชำระในแต่ละเดือนแล้ว ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดถัดไปจะลดลงตาม ทำให้ค่างวดผ่อนชำระในแต่ละงวดไม่เท่ากัน สูตรการคำนวณเป็นดังนี้
สูตรคำนวณยอดปิดบัญชี
ยอดเงินรวมที่ค้างชำระ + [(เงินต้นคงค้าง x ดอกเบี้ย 15% x จำนวนวันจากวันสรุปยอดบัญชีจนถึงวันก่อนวันที่ชำระเงิน 1 วัน) / 365 วัน + (เงินต้นคงค้าง x ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 10% x จำนวนวันจากวันสรุปยอดบัญชี จนถึงวันก่อนวันที่ชำระเงิน 1 วัน) / 365 วัน + ค่าธรรมเนียมอื่นๆ (ถ้ามี)] |
ทั้งนี้ สามารถดูตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ยบัตรกดเงินสดอย่างละเอียดได้ ที่นี่
กฎหมายเกี่ยวกับบัตรกดเงินสด
ในการใช้บัตรกดเงินสด ผู้บริโภคควรทราบถึงกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของตน ธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ออกกฎระเบียบเพื่อควบคุมการให้บริการบัตรกดเงินสด โดยมุ่งเน้นการสร้างความเป็นธรรมและความโปร่งใสในการทำธุรกรรม ดังนี้
· อัตราดอกเบี้ยสูงสุด: ไม่เกิน 25% ต่อปี (รวมค่าธรรมเนียมทั้งหมด)
· การเปิดเผยข้อมูล: ผู้ให้บริการต้องแจ้งอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมอย่างชัดเจน
· วิธีคิดดอกเบี้ย: ห้ามคิดดอกเบี้ยทบต้น คำนวณเป็นรายวันจากยอดเงินต้นคงเหลือ
· การชำระเงิน: ต้องตัดชำระค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และเงินต้นตามลำดับ
· การทวงถามหนี้: ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. การทวงถามหนี้ ห้ามคุกคามหรือสร้างความเดือดร้อน
· การคุ้มครองข้อมูล: ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
· การโฆษณา: ต้องระบุข้อมูลสำคัญอย่างชัดเจน ห้ามโฆษณาเกินจริง
· การปิดบัญชี: ลูกค้ามีสิทธิ์ปิดบัญชีได้ตลอดเวลาโดยไม่มีค่าธรรมเนียม
ทั้งนี้ทั้งนั้นการใช้บริการบัตรกดเงินสดนั้นควรศึกษาการใช้งานให้รอบคอบเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด หากคุณกำลังมองหาบัตรกดเงินสด ยูเมะพลัสเป็นตัวเลือกที่ดีอย่างยิ่ง ด้วยการคิดดอกเบี้ยบัตรกดเงินสด 19.8% - 25% ต่อปี นอกจากนี้ ยังมีสิทธิพิเศษสำหรับผู้ถือบัตรกดเงินสดยูเมะพลัสเฉพาะลูกค้าใหม่ ให้คุณกดเงินสดดอกเบี้ย 0% นาน 30 วัน* (เพียงมียอดเบิกถอนเงินสดภายใน 30 วันหลังจากได้รับการอนุมัติ) อีกทั้งยังสามารถผ่อนชำระสินค้าได้ในอัตราดอกเบี้ย 0% นานถึง 20 เดือน** (ขึ้นอยู่กับร้านค้าและโปรโมชันในแต่ละช่วงเวลา)
ดังนั้นหากคุณกำลังมองหาบัตรกดเงินสดที่สามารถใช้ทั้งกดเงินสดและผ่อนสินค้าได้ บัตรกดเงินสดยูเมะพลัสคือคำตอบที่ใช่ ที่สำคัญสามารถสมัครบัตรกดเงินสดได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ https://www.umayplus.com/cashcard/applyform สำหรับผู้ที่สนใจและมีข้อสอบถามใด ๆ เพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-695-0000
หมายเหตุ
*หลังจบรายการส่งเสริมการขายอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อหมุนเวียนจะถูกปรับเป็นอัตราดอกเบี้ย 19.8% - 25% ต่อปี
**อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อผ่อนชำระ 16.44% – 25% ต่อปี, กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว, ดูเงื่อนไขได้ที่เว็บไซต์ยูเมะพลัส