สำหรับมือใหม่ที่สนใจด้านการลงทุน การเริ่มลงทุนผ่านกองทุนรวมนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เนื่องจากความเสี่ยงในการลงทุนไม่สูงมากนัก เหมาะกับคนที่มีเงินลงทุนไม่มาก และไม่ค่อยมีเวลาติดตามข้อมูลการลงทุนอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา อย่างไรก็ตามกองทุนรวมก็มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย รวมถึงลงทุนได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่วางเอาไว้ และถ้าจะให้ดี ควรมีการวางแผนการลงทุนอย่างรอบคอบ โดยเริ่มจาก 5 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

 

1. กำหนดเป้าหมายการลงทุน

การลงทุนจะสำเร็จได้จำเป็นต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น ต้องการเก็บเงินเพื่อเกษียณอายุ ต้องการเก็บเงินเพื่อซื้อบ้าน ต้องการเก็บเงินเพื่อการศึกษาต่อ นอกจากนี้ ควรระบุรายละเอียดด้วยว่าเป้าหมายดังกล่าวมีมูลค่าเท่าไหร่ ใช้ระยะเวลาในการลงทุนเท่าไหร่ เมื่อกำหนดเป้าหมายการลงทุนได้แล้ว ก็จะสามารถกำหนดระยะเวลาการลงทุน และระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมได้

 

2. สำรวจตัวเอง ประเมินความเสี่ยง

เมื่อกำหนดเป้าหมายได้แล้ว สิ่งที่ต้องทำในขั้นต่อมาคือการประเมินความเสี่ยง ความเสี่ยงในที่นี้ หมายถึง ผู้ลงทุนอาจขาดทุน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มต้นได้ เพราะฉะนั้นก่อนลงทุนต้องเข้าใจระดับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของตัวเองก่อนว่าอยู่ในระดับใด เช่น ต่ำ ปานกลาง สูง ด้วยการทำแบบประเมินความเสี่ยง (Suitability Test) ซึ่งโดยส่วนมาก บลจ. แต่ละแห่งจะให้นักลงทุนทำแบบประเมินความเสี่ยงก่อนเปิดบัญชีกองทุนทุกครั้ง หรือเริ่มทำแบบประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ได้

ทั้งนี้ความเสี่ยงของการลงทุนกองทุนรวมขึ้นอยู่กับประเภทของสินทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุน หากกองทุนรวมลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูง เช่น หุ้น ผลตอบแทนมีโอกาสสูง แต่ความเสี่ยงก็จะสูงตามไปด้วย หากกองทุนรวมลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้ ผลตอบแทนมีโอกาสต่ำ แต่ความเสี่ยงก็จะต่ำตามไปด้วย

 

3. จัดพอร์ต คัดเลือกกองทุน

เมื่อตั้งเป้าหมายการลงทุนและประเมินความเสี่ยงที่รับได้ของตัวเองเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาจัดพอร์ตลงทุน โดยการคัดเลือกกองทุนรวมเข้าพอร์ต ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น คัดเลือกด้วยตัวเอง ซึ่งต้องอาศัยเวลา และประสบการณ์ สำหรับมือใหม่อาจเริ่มต้นจากการขอคำปรึกษาผู้แนะนำการลงทุน บลจ.ที่เปิดบัญชีซื้อขาย ว่ามีกองทุนรวมที่เหมาะสมอะไรบ้าง ที่สำคัญสามารถตัดสินใจร่วมจัดพอร์ตลงทุนพร้อมกับผู้แนะนำการลงทุนได้ด้วย ทั้งนี้ เราควรลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท เพื่อให้กระจายความเสี่ยงและลดความเสี่ยงโดยรวมลง ตัวอย่างเช่น หากต้องการลงทุนเพื่อเกษียณอายุ อาจจะแบ่งพอร์ตการลงทุนออกเป็นหุ้น 60% และอีก 40% เป็นตราสารหนี้

นอกจากนี้ อาจเลือกใช้วิธีที่ บลจ. หรือตัวแทนจำหน่ายกองทุนรวม (ธนาคาร) หรือ บลน. ได้คัดเลือกกองทุนรวมแบบสำเร็จรูปจากผู้เชี่ยวชาญ และคอยดูแลคัดสรรกองทุน รวมถึงปรับพอร์ตลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อให้ความเสี่ยงการลงทุนคงเดิมหรือลดลง โดยนักลงทุนมีหน้าที่เพียงเลือกลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ตัวเองยอมรับได้

 

4. ลงมือทำ เริ่มลงทุน

เริ่มลงทุนโดยการเปิดบัญชีซื้อขายกองทุน สามารถเลือกลงทุนด้วยรูปแบบเป็นเงินก้อน หรือทยอยลงทุนแบบสม่ำเสมอเป็นรายเดือน (DCA) ที่ย่อมาจาก Dollar-Cost Averaging เป็นการทยอยลงทุนเป็นงวด ๆ ด้วยเงินจำนวนเท่า ๆ กัน โดยไม่สนใจว่าในเวลานั้นราคาของสินทรัพย์จะเป็นเท่าไหร่ การลงทุนแบบ DCA จะช่วยสร้างวินัยในการลงทุน และเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวอีกด้วย 

 

5. ทบทวนแผนการลงทุน

เราควรทบทวนแผนการลงทุนของเราอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญ เช่น ภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงเพื่อให้แน่ใจว่าแผนการลงทุนยังคงเหมาะสมกับเป้าหมายที่เราตั้งไว้ และยังอยู่ในความเสี่ยงที่ยอมรับได้

 

นอกจาก 5 ขั้นตอนที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมที่ผู้สนใจลงทุนควรทราบเพิ่มเติม ดังนี้

ประเภทของกองทุนรวม

กองทุนรวมในประเทศไทยแบ่งออกเป็นหลายประเภท ขึ้นอยู่กับประเภทของสินทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุน เช่น กองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมผสม กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน

ค่าธรรมเนียม

การลงทุนกองทุนรวมจะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมการขาย ค่าธรรมเนียมซื้อคืน ดังนั้นควรศึกษาค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน

การติดตามผลการลงทุน

ควรติดตามผลการลงทุนกองทุนรวมเป็นประจำทุกเดือน เพื่อประเมินผลตอบแทนและความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน

 

จะเห็นได้ว่าการลงทุนในกองรวมไม่ได้ยากอย่างที่คิด ที่สำคัญคือเลือกกองทุนให้เหมาะสมตรงตามความต้องการ และอยู่ในความเสี่ยงที่ตนเองรับได้ สามารถเริ่มต้นได้ทุกที่ทุกเวลา ขอเพียงมีเงินทุน และลงทุนอย่างสม่ำเสมอ

หากคุณกำลังมองหาแหล่งเงินทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับการลงทุนในกองทุนรวม บัตรกดเงินสด Umay+ เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งบัตรกดเงินสด Umay+ อนุมัติวงเงินง่ายและรวดเร็วพร้อมวงเงินสูงสุดถึง 5 เท่าของรายได้ พร้อมอัตราดอกเบี้ยพิเศษ

หากสนใจสามารถสมัครบัตรกดเงินสดยูเมะพลัสผ่านทางออนไลน์ได้ที่ https://www.umayplus.com/cashcard/applyform ตลอด 24 ชั่วโมง หรือดาวน์โหลด Umay+ Application แล้วสมัครผ่านแอปพลิเคชันก็ได้เช่นกัน

 

*อัตราดอกเบี้ย 19.8% - 25% ต่อปี, ดูเงื่อนไขได้ที่เว็บไซต์ยูเมะพลัส, กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว